คู่มือการทำ Passport
บุคคลบรรลุนิติภาวะ
- เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ
- ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียม
ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- ค่าธรรมเนียม
- เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- ค่าธรรมเนียม
ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- ค่าธรรมเนียม
- เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- ค่าธรรมเนียม
ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
โปรดนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการยื่นคำร้องกรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และ ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ ทั้งนี้ หากเอกสารที่นำมาแสดงไม่ครบถ้วน ท่านจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม ซึ่งจะทำให้การรับเล่มล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบให้ครบถ้วน
ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่
1. รับบัตรคิว
2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก(หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล
2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก(หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล
- ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )
- แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
3. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์40 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม ท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้
- แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
• หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
• หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
• กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ
• โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
• ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)
• หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
• กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ
• โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
• ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)
บุคคลบรรลุนิติภาวะ
• เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
- หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย
• ค่าธรรมเนียม- หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องนำสูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจาก อำเภอ/เขตมาแสดงพร้อมผู้มีอำนาจปกครอง หากผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาดำเนินการได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาและ/หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริงมาแสดง ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอ/เขต
- บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองนำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หากชื่อนามสกุลบิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา ในกรณีที่บิดา/มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้
**หนังสือยินยอมของบิดา/มารดา ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต (ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องมีบิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่งมาแสดงตัวให้ความยินยอม)
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
- กรณีบิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต / บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและ ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ /บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
- ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์
- บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองนำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หากชื่อนามสกุลบิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา ในกรณีที่บิดา/มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้
**หนังสือยินยอมของบิดา/มารดา ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต (ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องมีบิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่งมาแสดงตัวให้ความยินยอม)
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
- กรณีบิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต / บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและ ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ /บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
- ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์
ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่ทำบัตรประชาชนแล้วสามารถติดต่อขอทำ หนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีหนังสือยินยอมของบิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองที่ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตมาแสดงประกอบการยื่นคำร้อง หากไม่มีหนังสือยินยอม บิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นคำร้อง (หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาไม่ได้ ให้มาลงนามในวันรับเล่ม) หรือ มีหนังสือยินยอม จากฝ่ายที่มาไม่ได้มาแสดง เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้อง จากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวง มหาดไทย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบ สำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบ สำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ความหมายของผู้มีอำนาจปกครอง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสบิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่ายหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้องให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง
- กรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักอยู่ หากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ปกครองไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองและประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับ ต้องผ่านการรับรองจาก สอท./สกญ. (สถานทูต/สถานกงสุล) กรณีบิดามารดาหย่าตามกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงทะเบียนหย่า และบันทึกการหย่า
- ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้ทำ บันทึกคำให้การจากอำเภอ/เขตยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสพร้อมแสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง
- มารดาผู้เยาว์ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดย นำหนังสือรับรองการอุปการะบุตรแต่เพียงผู้เดียวจากอำเภอ/เขต มาแสดง
- ผู้เยาว์เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดา ไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียวได้ เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
- บิดามารดาผู้ให้กำเนิดผู้เยาว์ที่ได้ยกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว ไม่สามารถลงนาม แทนบิดามารดาบุญธรรมได้ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม
- เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนา ถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น
- ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้ทำ บันทึกคำให้การจากอำเภอ/เขตยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสพร้อมแสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง
- มารดาผู้เยาว์ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดย นำหนังสือรับรองการอุปการะบุตรแต่เพียงผู้เดียวจากอำเภอ/เขต มาแสดง
- ผู้เยาว์เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดา ไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียวได้ เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
- บิดามารดาผู้ให้กำเนิดผู้เยาว์ที่ได้ยกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว ไม่สามารถลงนาม แทนบิดามารดาบุญธรรมได้ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม
- เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนา ถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น
ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง
อ้างอิงมากจาก http://www.consular.go.th/main/th/home